เมนู

สมาทานแล้ว รับเอาแล้ว ยึดมั่น ถือมั่น ซึ่งหัตถีวัตร อัสสวัตร
โควัตร กุกกุรวัตร กากวัตร วาสุเทววัตร พลเทววัตร ปุณณภัตรวัตร
มณิภัตรวัตร อัคคิวัตร นาควัตร สุปัณณวัตร ยักขวัตร อสุรวัตร ฯลฯ
ทิสวัตร คำว่า ชันตุชน ได้แก่ สัตว์ นรชน ฯลฯ มนุษย์. เพราะ
ฉะนั้นจึงชื่อว่า ชันตุชนสมาทานวัตรทั้งหลายเอง.
[130] คำว่า เป็นผู้ข้องในสัญญา ย่อมดำเนินผิด ๆ ถูก ๆ
มีความว่า จากศาสดาต้นถึงศาสดาหลัง จากธรรมที่ศาสดาต้นบอกถึงธรรม
ที่ศาสดาหลังบอก จากหมู่คณะต้นถึงหมู่คณะหลัง จากทิฏฐิต้นถึงทิฏฐิหลัง
จากปฏิปทาต้นถึงปฏิปทาหลัง จากมรรคต้นถึงมรรคหลัง. คำว่า เป็นผู้
ข้องในสัญญา
คือ เป็นผู้ข้อง เกี่ยวข้อง ข้องทั่วไป ติดอยู่ พันอยู่
เกี่ยวพันอยู่ ในกามสัญญา พยาบาทสัญญา วิหิงสาสัญญา ทิฏฐิสัญญา
เหมือนสิ่งของที่ข้อง เกี่ยวข้อง ข้องทั่วไป ติดอยู่ พันอยู่ เกี่ยวพันอยู่
ที่ตาปูอันตอกติดฝา หรือที่ไม้ขอ ฉะนั้น. เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า เป็นผู้
ข้องในสัญญา ย่อมดำเนินผิด ๆ ถูก ๆ
.

ผู้รู้ธรรม 7 ประการ



[131] คำว่า ส่วนบุคคลผู้มีความรู้ รู้ธรรมด้วยความรู้ทั้ง
หลาย
มีความว่า คำว่า มีความรู้ ได้แก่ มีความรู้ คือถึงวิชชา มี
ญาณ มีปัญญาเครื่องตรัสรู้ มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาเป็นเครื่องทำลาย
กิเลส.

คำว่า ด้วยความรู้ทั้งหลาย มีความว่า ญาณในมรรคทั้ง 4
ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ ปัญญาเป็นเครื่อง
พิจารณา วิปัสสนา สัมมาทิฏฐิ เรียกว่า ความรู้. บุคคลผู้มีความรู้นั้น
ถึงที่สุด บรรลุที่สุด ถึงส่วนสุด บรรลุส่วนสุด ถึงที่สุดรอบ บรรลุที่สุด
รอบ ถึงที่สิ้นสุด บรรลุที่สิ้นสุด ถึงที่ป้องกัน บรรลุที่ป้องกัน ถึงที่ลับ
บรรลุที่ลับ ถึงที่พึ่ง บรรลุที่พึ่ง ถึงที่ไม่มีภัย บรรลุที่ไม่มีภัย ถึงที่ไม่
จุติ บรรลุที่ไม่จุติ ถึงที่ไม่ตาย บรรลุที่ไม่ตาย ถึงนิพพาน บรรลุ
นิพพาน แห่งชาติชรา และมรณะ ด้วยความรู้ทั้งหลายเหล่านั้น. อีก
อย่างหนึ่ง บุคคลชื่อว่า เวทคู เพราะอรรถว่า ถึงที่สุดแห่งความรู้ทั้ง
หลายบ้าง. เพราะอรรถว่า ถึงที่สุดด้วยความรู้ทั้งหลายบ้าง. และชื่อว่า
เวทคู เพราะเป็นผู้รู้แจ้งธรรม 7 ประการ คือเป็นผู้รู้แจ้งซึ่งสักกายทิฏฐิ
วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ราคะ โทสะ โมหะ มานะ และเป็นผู้รู้
แจ้งซึ่งอกุศลธรรมอันลามกทั้งหลาย อันทำความเศร้าหมอง ให้เกิดใน
ภพใหม่ มีความกระวนกระวาย มีวิบากเป็นทุกข์ เป็นปัจจัยแห่งชาติชรา
และมรณะต่อไป. สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-
ดูก่อนสภิยะ บุคคลเลือกเฟ้นเวททั้งสั้น ของพวก
สมณพราหมณ์ที่มีอยู่เป็นผู้ปราศจากราคะในเวทนาทั้งปวง
ล่วงเวททั้งปวงแล้ว ชื่อว่าเวทคู
.
คำว่า ส่วนบุคคลผู้มีความรู้ รู้ธรรมด้วยความรู้ทั้งหลาย มี
ความรู้ รู้ รู้เฉพาะซึ่งธรรม คือรู้ รู้เฉพาะซึ่งธรรมว่า สังขารทั้งปวง
ไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา เพราะอวิชชา

เป็นปัจจัยจึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัยจึงมีวิญญาณ เพราะวิญญาณ
เป็นปัจจัยจึงมีนามรูป เพราะนามรูปเป็นปัจจัยจึงมีสฬายตนะ เพราะ
สฬายตนะเป็นปัจจัยจึงมีผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัยจึงมีเวทนา เพราะ
เวทนาเป็นปัจจัยจึงมีตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัยจึงมีอุปาทาน เพราะ
อุปาทานเป็นปัจจัยจึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัยจึงมีชาติ เพราะชาติเป็น
ปัจจัยจึงมีชราและมรณะ เพราะอวิชชาดับสังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ
วิญญาณจึงดับ เพราะวิญญาณดับนามรูปจึงดับ เพราะนามรูปดับสฬายตนะ
จึงดับ เพราะสฬายตนะดับผัสสะจึงดับ เพราะผัสสะดับเวทนาจึงดับ
เพราะเวทนาดับตัณหาจึงดับ เพราะตัณหาดับอุปาทานจึงดับ เพราะ
อุปาทานดับภพจึงดับ เพราะภพดับชาติจึงดับ เพราะชาติดับชราและ
มรณะจึงดับ. และรู้ รู้เฉพาะซึ่งธรรมว่านี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้
ความดับทุกข์ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์. เหล่านี้อาสวะ นี้เหตุ
ให้เกิดอาสวะ นี้ความดับอาสวะ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับอาสวะ.
ธรรมเหล่านี้ควรรู้ยิ่ง ธรรมเหล่านี้ควรกำหนดรู้ ธรรมเหล่านี้ควรละ
ธรรมเหล่านี้ควรเจริญ ธรรมเหล่านี้ควรทำให้แจ้ง. และรู้ รู้เฉพาะ
ซึ่งธรรม คือ เหตุเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออก
แห่งผัสสะสายตนะ 6. และรู้ รู้เฉพาะซึ่งธรรม คือ เหตุเกิด ความดับ
คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งอุปาทานขันธ์ 5. และรู้ รู้
เฉพาะซึ่งธรรม คือ เหตุเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัด
ออกแห่งมหาภูตรูป 4. และรู้ รู้เฉพาะซึ่งธรรมว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความ

เกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวงมีความดับไปเป็นธรรมดา. เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า ส่วนบุคคลผู้มีความรู้ รู้ธรรมด้วยความรู้ทั้งหลาย.
[132] คำว่า เป็นผู้มีปัญญากว้างขวางดุจแผ่นดิน ย่อมไม่
ดำเนินผิด ๆ ถูก ๆ
มีความว่า บุคคลผู้มีปัญญากว้างขวางดุจแผ่นดิน
ย่อมไม่จากศาสดาต้นถึงศาสดาหลัง ไม่จากธรรมที่ศาสดาต้นบอกถึงธรรม
ที่ศาสดาหลังบอก ไม่จากหมู่คณะต้นถึงหมู่คณะหลัง ไม่จากทิฏฐิต้นถึง
ทิฏฐิหลัง ไม่จากปฏิปทาต้นถึงปฏิปทาหลัง ไม่จากมรรคต้นถึงมรรคหลัง
คำว่า บุคคลผู้มีปัญญากว้างขวางดุจแผ่นดิน คือมีปัญญาใหญ่ มี
ปัญญามาก มีปัญญาเป็นเครื่องรื่นเริง มีปัญญาไว มีปัญญาคมกล้า มี
ปัญญาเป็นเครื่องทำลายกิเลส. แผ่นดิน ตรัสว่า ภูริ บุคคลประกอบด้วย
ปัญญากว้างขวางแผ่ไปเสมอด้วยแผ่นดินนั้น. เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า บุคคล
ผู้มีปัญญากว้างขวางดุจแผ่นดิน ย่อมไม่ดำเนินผิด ๆ ถูก ๆ

เพราะเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-
ชันตุชนสมาทานวัตรทั้งหลายเอง เป็นผู้ข้องใน
สัญญา ย่อมดำเนินผิดๆ ถูกๆ ส่วนบุคคลผู้มีความรู้ รู้
ธรรมด้วยความรู้ทั้งหลาย เป็นผู้มีปัญญากว้างขวางดุจ
แผ่นดิน ย่อมไม่ดำเนินผิด ๆ ถูก ๆ

[133] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-
บุคคลผู้มีปัญญากว้างขวางดุจแผ่นดินนั้น เป็นผู้
กำจัดเสนาในธรรมทั้งปวง คือในรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน
หรืออารมณ์ที่ทราบอย่างใดอย่างหนึ่ง ใคร ฯ ในโลกนี้พึง

กำหนดซึ่งบุคคลนั้นนั่นแหละ ผู้เห็นผู้ประพฤติเปิดเผย
ด้วยกิเลสอะไรเล่า.


ว่าด้วยมารเสนา



[134] บุคคลผู้มีปัญญากว้างขวางดุจแผ่นดินนั้น เป็นผู้
กำจัดเสนาในธรรมทั้งปวงคือ ในรูปที่เห็น เสี่ยงที่ได้ยิน หรือ
อารมณ์ที่ทราบอย่างใดอย่างหนึ่ง
มีความว่า กองทัพมาร เรียกว่า
เสนา. กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ราคะ โทสะ โมหะ โกธะ
อุปนาหะ ฯลฯ อกุศลกรรมทั้งปวง ชื่อว่า กองทัพมาร. สมจริงดังที่พระ
ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า.
กิเลสกาม เรากล่าวว่าเป็นกองทัพที่ 1 ของท่าน
ความไม่ยินดี เป็นกองทัพที่ 2 ความหิวกระหาย เป็น
กองทัพที่ 3 ตัณหา เรากล่าวว่าเป็นของทัพที่ 4 ของ
ท่าน ความหดหู่และความง่วงเหงา เป็นกองทัพที่ 5 ของ
ท่าน ความขลาดเรากล่าวว่าเป็นกองทัพที่ 6 ความลังเล
ใจ เป็นกองทัพที่ 7 ของท่าน ความลบหลู่คุณท่านและ
หัวดื้อ เป็นกองทัพที่ 8 ลาภ ความสรรเสริญ สักการะ
และยศที่ได้โดยทางผิด เป็นกองทัพที่ 9 ของท่าน ยกตน
และข่มขู่ผู้อื่น เป็นกองทัพที่ 10 ของท่าน ดูก่อนพระยา
มาร กองทัพของท่านนี้ เป็นผู้มีปกติกำจัดผู้มีธรรมดำ คน
ขลาดจะเอาชนะกองทัพของท่านนั้นไม่ได้ คนกล้าย่อม
ชนะได้ และครั้นชนะแล้วย่อมได้ความสุข.